GBP/USD การวิเคราะห์ทิศทางอย่างละเอียด สิ้นเดือนเมษายน 2562

snapshot

เริ่มจากภาพรวมใหญ่ หลังจากกราฟสัปดาห์ทางซ้ายได้พลิกจากขาลงเป็นขาขึ้น (สังเกต Bullish divergence - เส้นสีน้ำเงิน) เมื่อกุมภาพันธ์ปี 2017 ราคาได้กลับตัวขึ้นมาถึง key Fibonacci level ที่ 3.618 ก่อนที่จะมีการ failed breakout เหนือ 3.618 (วงกลมสีแดง) ซึ่งได้รับการคอนเฟิร์มด้วย Bearish divergence - เส้นสีแดง ที่ RSI ราคาก็ได้กลับตัวลงเมื่อเมษายน 2018
ย่อจนมาถึง 23.6% retracement ของยอด 3.618
เมื่อราคาย่อตัวมาถึงตรงนี้ (1.2567) ได้มีการทำ Bullish divergence ที่ RSI - เส้นโค้งสีแดง

ข้อสังเกตว่านี่คือ bull market
1. ในกราฟวีคเนื่องจากราคาทำ higher high และ higher low
2. RSI ไม่ลงต่ำกว่า 30 ซึ่งปกติแล้วตลาดขาขึ้น RSI จะ ไม่ oversold

ในขณะนี้ หากนับเวฟด้วยวิธี Elliot เราจบเวฟ 1-2 ในกราฟสัปดาห์แล้ว
snapshot

มาลองดู TF Daily กันบ้างครับ
snapshot

เรากำลังอยู่ในเวฟ 2 corrective ของเวฟ 3ใหญ่กราฟสัปดาห์ครับ
ซึ่ง corrective wave ควรจะประกอบไปด้วยเวฟ abc
โดยดูจากลักษณะที่ยอด b เกินจุดเริ่มต้นของ a (จุดสิ้นสุดเวฟ 1) ผมจึงคิดว่าเวฟนี้จะมีลักษณะเป็น expanded wave ที่จุดสิ้นสุดของ b และ c เกินความยาวของเวฟ a
ทีนี้ จะย่อถึงเมื่อไร จะของลองใช้ Fibonacci มาช่วยนะครับ

snapshot

จากภาพจะเห็นว่ามีแนวซ้อนทับของ Fibonacc ที่แนว 1 และ 2 ตามลำดับ โดยแนวที่ 1 มีการซ้อนทับกันมากกว่า
ต่อไปลงย่อยที่ 4 hr นะครับ เผื่อจะเห็นอะไรชัดเจนขึ้น

snapshot

นี่คือการนับเวฟที่ผมได้ โดยผมเชื่อว่าการนับเวฟนี้ถูกต้อง เนื่องจากทุกเวฟที่นับแบบนี้ทำตาม กฏของ Elliot คือ
1. เวฟ 2  จะไม่ retrace (ย่อ) เกิน 100% ของเวฟ 1
2. เวฟ 3 ต้องไม่ใช่เวฟที่สั้นที่สุด เมื่อเทียบกับ 1 และ 5
3. เวฟ 4 ห้าม overlap (ซ้อนทับ) กับเวฟ 1
ลองเช็กดูนะครับ

ต่อไป ย่อมา TF 1hr เพื่อหาจุดเข้ากันนะครับ
ตอนนี้ผมจะใช้ Fibonacci คู่กับ Elliot wave ในการหา price projection
วิธีคือ
1. ระบุเวฟ 2 ให้ได้ก่อน
2. ลาก Fibonacci จากจุดสิ้นสุดของเวฟ 1 ไปที่จุดสิ้นสุดของเวฟ 2
3. จุดสิ้นสุดของเวฟ3 คือบริเวณ 1.618 2.618 หรือ 3.618 ตรงนี้แล้วแต่เวฟจะยืดหรือเปล่านะครับ
4. หากนับเวฟ 3 ครบตามกฏแล้ว ไม่ว่าสุดที่ 1.618 หรือจุดไหนก็ตามในข้อ 2 ต่อไปคือเวฟ 4 โดยที่
ตามกฏแล้วเวฟ 4 ห้ามเกยกับเวฟ 1 เพราะฉะนั้น maximum target ของเวฟ 4 ครั้งนี้ จะไม่เกิน 1.296-7
5. เมื่อได้เวฟ 4 แล้ว ให้ลากจุดสิ้นสุดของเวฟ 2 ไปที่จุดสิ้นสุดของเวฟ4 แล้วตีเส้นขนานไปที่จุดสิ้นสุดของเวฟ 3 ตรงนั้นเราจะได้เวฟ 5 ตามขอบของ channel นั้น

มาลองดูนะครับ

snapshot

จากการลากครั้งนี้จะเห็นว่าราคามาถึง target ที่ 3.618 แล้ว และกำลัง retrace กลับไปที่เวฟ 4 สีชมพู
ตอนนี้ผมคิดว่าเราได้เวฟ a-b ย่อย ของการดีดแล้ว ต่อไปผมจะลองหาเวฟ c (จุดสิ้นสุดของ 4 สีชมพู) นะครับเพราะนี่คือสวนเทร็นด์ โครงสร้างจะเป็น a-b-c ไม่ใช่ 1-2-3-4-5

snapshot

ตามตัวหนังสือเลยนะครับ ผมได้ 2.618 extension แถว 1.296-1.297 ซึ่งหากไปถึงตรงนั้น เราจะได้เวฟ 4 ที่ไม่เกยกับเวฟ 1 ตามกฏพอดีครับ

ต่อไปผมจะหาเวฟ 5 ด้วยวิธีตามข้อ 5

snapshot

ใกล้เคียงนะครับ ตรงนั้นเป็น 4.618 Fibo extension และเป็นขอบแชนแนลตามทฤษฏีด้วย ยิ่งเพิ่มความมั่นใจนะครับ ที่ 1.284-6 โซนนี้นะครับ
หากมาถึงตรงนี้เป็นอันว่าจบเวฟ 3 ของ corrective c นะครับ เราเหลืออีก 2 เวฟ
ต่อไป เวฟ 4 ดำนะครับ แน่นอนว่าตรงนั้นย่อมต้องไม่เกยกับ 1 ดำ ซึ่งคือบริเวณ 1.302 เป็นแนวรับที่เพิงถูกทำลายลงมานะครับ ตรงนี้คิดว่าง่ายๆไม่น่ามีอะไร เป็นการกลับไปเทสแนวต้าน เพราะฉะนั้น เวฟ 5 ก่อนกลับตัวเป็นขาขึ้นน่าจะอยู่ตามขอบของ channel ซึ่งคือแนวซ้อนทับ 1 นะครับ

snapshot

มาพยายามคอนเฟิมกันนะครับโดยการใช้ pattern มาช่วย โดยพิจารณาจาก Descending triangle นะครับ มีความสูงประมาณ 3300 จุด หักจากจุดทะลุ 1.302 คงได้เป้าตามในรูปนะครับ เป็นโซนแถวนั้น

snapshot

เอา Fibonacci level มาช่วยนะครับ

snapshot

น่าจะพอเป็นแนวทางได้นะครับ

ยังไงก็ตาม การเทรดควรรอให้ราคาไปถึงเลเวลที่มองไว้ แล้วเกิดสัญญาณแท่งเทียนเป็นการ confirm ก่อนแล้วค่อยเข้าออเด้อนะครับ
การนับเวฟแบบนี้อาจจะน่าปวดหัวหน่อย แต่หากทำตามกฏ 3 ข้อของ Elliot อย่างเคร่งครัดแล้วมันจะง่ายขึ้นครับ

หากไม่อยากปวดหัวมาก
ขอสรุปว่า
1. รอขายที่ 1.302
2. รอซื้อที่ 1.272-1.267
3. ให้รออสัญญาณ confirm ที่บริเวณ key level ก่อนเข้าซื้อขายทุกครั้งนะครับ
แล้วเรามาอัพเดทกันนะครับ

*ขออภัยหากสีสันของตัวเลขน่างงนะครับ เพราะมันซับซ้อนจริงๆอาจจะมีผิดพลาดด้านสีของตัวเลขไปบ้าง

Happy trading ครับ
Beyond Technical AnalysisChart PatternselliottwaveprojectionelliotwaveanalysisFibonacci ExtensionGBPUSDTrend Analysis

Also on:

Disclaimer